November 25, 2024

อาชีพเชฟ เป็นอีกหนึ่งในเมืองไทยที่ยังมีคนต้องการและไม่ถูกแย่งงานจากหุ่นยนต์

อาชีพเชฟ

            อาชีพเชฟ ความหมายของคำว่า เชฟ ในภาษาอังกฤษ คือ หัวหน้าพ่อครัวสำหรับครัวขนาดใหญ่ที่มีลูกมือหลายแผนก เชฟไม่ใช่คนปรุงอาหารโดยตรง เพราะตำแหน่งคนปรุงหน้าเตา ถือตะหลิวก็คือ กุ๊ก พ่อครัวตัวจริง ส่วนเชฟ มีความหมายกว้างกว่านั้น คือเป็นผู้บริหารงานครัวโดยรวม

อาชีพเชฟ 1

อาชีพเชฟ อีกหนึ่งอาชีพที่มีรายได้ดีและหุ่นยนต์ไม่สามารถแทนได้

            เมื่อมีออเดอร์หรือใบสั่งอาหารเข้ามา เชฟคือผู้จัดระบบการทำงานให้พ่อครัวและลูกมือในครัวช่วยกันปรุงอาหารจานนั้นให้สำเร็จ เริ่มตั้งแต่สำรวจวัตถุดิบว่าต้องใช้อะไรบ้าง ทั้งของสด ของแห้ง รวมทั้งเครื่องปรุงรส เครื่องเทศต่างๆ มอบหมายหน้าที่ให้ทีมงานแต่ละคน และกำกับติดตามการทำอาหารรายการนั้นให้สำเร็จออกมาด้วยความราบรื่นและแน่นอน ต้องอร่อยด้วย     

อาชีพเชฟ หัวหน้าพ่อครัว

            การบริหารครัวของเชฟจะต้องรวมถึงความสามารถในการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดด้วย ไม่เหลือทิ้ง หรือปล่อยให้เน่าเสียโดยไร้ประโยชน์ รวมไปจนถึงการตรวจสอบดูแลครัวให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ ไม่มีขยะตกค้าง ไม่มีคราบอาหารหกเลอะเทอะ หรือปล่อยให้สัตว์นำโรคเข้าไปรบกวนได้แม้แต่แมลงวัน สิ่งเหล่านี้ เชฟต้องถ่ายทอดให้แก่ทีมงานเพื่อการพัฒนาทักษะที่ดีซึ่งส่งผลต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์องค์กรโดยตรง

อาชีพเชฟ บริหารงานครัว

            สำหรับครัวขนาดใหญ่เช่นในโรงแรมต่างๆ เชฟจะถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับ เพื่อช่วยกันดูแลงานแต่ละส่วน ได้แก่ หัวหน้าใหญ่ รองหัวหน้า หัวหน้าหน่วยต่างๆ เช่น หน่วยผัก หน่วยปลา หน่วยซอส หน่วยอบ-ย่าง หรือหน่วยเบเกอรี่ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเชฟหมุนเวียนที่คอยทำหน้าที่แทนหัวหน้าหน่วยต่างๆ เมื่อคนใดคนหนึ่งมีความจำเป็นต้องหยุดงาน  และมีเชฟผู้ช่วยทั่วไป กับเชฟฝึกหัดที่เป็นทีมงานมือใหม่ อายุน้อยและยังไม่มีทักษะใดๆ

อาชีพเชฟ อาหาร

            ปัจจุบันมีร้านอาหารที่ให้ความสำคัญกับการจัดพื้นที่ครัวเพื่อโชว์เทคนิคการปรุงอาหารและวัตถุดิบสู่สายตาของลูกค้ามากขึ้น ในลักษณะของครัวเปิด ซึ่งถือว่าตรงกันข้ามกับร้านอาหารทั่วไปที่กันส่วนปรุงอาหารไว้ทางด้านหลังหรือเป็นพื้นที่ปิด ไม่อนุญาตให้คนนอกเข้าไปได้ง่ายๆ และแน่นอนว่า เมื่อเป็นครัวเปิด เชฟก็คือแรงดึงดูดลูกค้าอีกทางหนึ่งด้วย จนถึงปัจจุบันที่อาชีพเชฟค่อยกลับกลายเป็นพื้นที่แสดงทักษะการปรุงและออกแบบอาหารให้ลูกค้าเป็นหลัก มากกว่าที่จะปรุงอาหารตามใบสั่งจากลูกค้าเท่านั้น

ฝากกติดตามอาชีพอิสระ
อาชีพแนะนำบาริสต้า ผู้สร้างสรรค์รสชาติกาแฟอย่างมืออาชีพ ให้กับผู้คนในทุกๆวัน