ในโลกการทำงานนอกจากการเคารพกันในวัฒนธรรมองค์การแล้ว สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงอยู่นั่นก็คือ เวลาเราทำงานอะไรมักจะถือคติที่ว่า ลูกค้าเป็นพระเจ้า หรือบริการไม่ดี ไม่ได้ดังใจลูกค้าที่ต้องการก็อาจทำให้ทีมงานเดือดร้อน ซึ่งฟังไปนั้นมันก็ไม่น่าพิสมัยสักเท่าไหร่ที่ได้ยินแบบนั้น แต่การทำงานที่มีลูกค้าเป็นปัจจัยหลักค่อนข้างจะอึดอัดพอสมควร ยิ่งบางแห่งวัดกันที่ทีมงานด้วย บางทีก็อดที่จะน้ำท่วมปาก ทำงานไปด้วยความอึดอัดเช่นกัน ปัญหาเหล่านี้ส่วนมากมักจะเป็นงานบริการงานที่ต้องสื่อสารต้องติดต่อลูกค้าหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะงานโดยตรงหรือโดยอ้อม แม้ว่าจะ Service Mind เพื่อสถานการณ์ดีขึ้นแล้วก็ตาม จะเกิดปัญหาร้อยแปดมากกว่างานรูปแบบอื่นๆ ที่มีเพียงแค่ปัญหาเจ้านายกับลูกน้องเพียงเท่านั้น เราจะรับมือสองปัญหาระหว่าง ลูกค้าเป็นพระเจ้า กับเห็นทีมงานเป็นฟันเฟืองอย่างไรดี ถ้าจะมองในมุมเรื่องลูกค้าเป็นพระเจ้าอย่างเดียว ข้อดีคือเราได้รักษาฐานลูกค้าไว้ นั่นก็แปลว่าเราเน้นการให้บริการกับลูกค้า ซึ่งในประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมบริการที่มองในเรื่องลูกค้า ทำยอดขายเป็นหลักมีโอกาสที่จะเพิ่มความขัดแย้งความไม่สบายใจให้กับทีมงานได้จะเห็นได้ว่าบางบริษัทดุด่าพนักงานเนื่องจากการบริการต่อลูกค้าไม่ดี ซึ่งลูกค้ามีทั้งมองเป็นเหตุและผลกับทัศนคติส่วนตัวปะปนกัน อาจเกิดความไม่เชื่อมั่นในภายหลัง ฉะนั้นการที่จะมองแต่ลูกค้าด้านเดียวระบบการทำงานก็จะเสียสมดุลไปด้วยโอกาสที่ลูกจ้างจะลาออกเนื่องจากเห็นแนวคิดนี้มีสูงมากเช่นกัน ถ้ามองในเรื่องเห็นทีมงานเป็นหลัก ซึ่งการมองภาพรวมทีมงานเป็นการซื้อใจลูกทีมของตนเองมากกว่าลูกค้า เนื่องด้วยลูกค้าเป็นสิ่งที่นอกเหนือการควบคุม การเห็นทีมงานเป็นฟันเฟืองเท่ากับว่าคุณใส่ใจทีมงานของตนเองใส่ใจเรื่องการระวังปัญหาแต่ต้องแลกกับความพอใจส่วนบุคคลของลูกค้า ถ้ามองสองด้านนี้ควบคู่กันจะเห็นได้ในบางบริษัทที่ยืดหยุ่นรองจากข้อที่สองและเน้นการบริการลูกค้าควบคู่กันจะสร้างการพัฒนาศักยภาพพนักงานได้มากกว่ารูปแบบอื่น และพัฒนาทักษะการทำงานของทีมงาน ซึ่งเป็นข้อดีของการมองข้อดีทั้งสองข้อแรกไปในตัว อีกทั้งยังสร้างมาตรฐานที่ดีให้กับองค์กรต่อไป ...